ทิ้งกระจาด

งานทิ้งกระจาด เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน  และได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว เป็นการประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9 ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่ 3 จะเป็นวันทิ้งกระจาดฟ้า โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้ว ที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา ถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น

งานประเพณีทิ้งกระจาด จังหวัดสุพรรณบุรี

งานประเพณีทิ้งกระจาด
จังหวัดสุพรรณบุรี ประจำปี 256
1
วันที่ 28 สิงหาคม  1 กันยายน 2561
ทิ้งกระจาดดิน วันที่ 
6-9 กันยายน 2561

ณ สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง (สมาคมจีน)
จังหวัดสุพรรณบุรีร่วมกับคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนกำหนดจัดงาน “ ประเพณีทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี ประจำปี 256
1” ในระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม  1 กันยายน 2561 และงานกระจาดดินจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6-9 กันยายน 2561 ณ สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง (สมาคมจีน) ถนนพันคำ อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี

ชมพิธีเปิดงานในวันที่ 28 สิงหาคม 2561
เวลา 08.00 น. พบกับขบวนแห่อัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมืองที่ยิ่งใหญ่ ตระการตาซึ่งแต่ละขบวนมีการจัดแสดงทางวัฒนธรรมไทย–จีน ที่หลากหลาย ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี มายัง สมาคมตงฮั้วฮ่วยก้วง
เวลา 
19.00 น. ชมการแสดงมังกร สิงโต หน้าปะรำพิธี

29 สิงหาคม 2561
เวลา 18.00 น. ชมขบวนแห่โคมไฟ พิธีลอยกระทง การปล่อยนก ปล่อยปลาตามประเพณี การแสดงมังกรพ้นน้ำ
30 สิงหาคม 2561
เวลา 15.00 น. ทิ้งกระจาด ให้ทาน
9 กันยายน 256
1
เวลา 15.00 น. ทิ้งกระจาดดิน
 ให้ทาน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ที่ทำการปกครองจังหวัดสุพรรณบุรี โทร. 035-535380

ประวัติความเป็นมา และตำนานงานทิ้งกระจาดสุพรรณบุรี
งานทิ้งกระจาด
สุพรรณบุรี เป็นพิธีกรรมของชาวพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ที่ได้จัดติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 100 ปีมาแล้ว เล่าต่อกันว่า ชาวสวนเชื้อสายจีนในจังหวัดสุพรรณบุรีได้พบแผ่นหิน 2 แผ่น (รูปพระวิษณุกรรมสวมหมวกแขก) ในลำน้ำขณะกำลังรดน้ำปลูกผัก ภายหลังพบว่ามีร่องรอยการสลักเป็นหลักเมือง จึงได้ตั้งศาลเพียงตาขึ้นเพื่อประดิษฐานหลักเมืองนี้ กระทั่ง พ.ศ.2423 เกิดภาวะแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ผู้คนอดอยากล้มตาย ชาวเมืองจึงขอพรเจ้าพ่อหลักเมืองให้คุ้มครองและขอให้พ้นจากภัยครั้งนี้ หลังจากนั้นภาวะแห้งแล้งก็เบาบางลงจนหมดไป ชาวบ้านเชื่อว่าเกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมือง จึงเห็นพ้องจัดทำบุญเมืองครั้งใหญ่ สักการะเจ้าพ่อหลักเมือง ทำทานแก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เปรตและอสูรกาย 36 จำพวก มีการนำของกินโยนลงมาจากที่สูงเพื่อเป็นการอุทิศให้ทาน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการทิ้งกระจาดนับแต่บัดนั้น

การทิ้งกระจาด เป็นการให้ทานทั้งดวงวิญญาณ และคน ที่ให้ดวงวิญญาณก็มีอาหาร และของใช้ กระดาษเงิน กระดาษทอง ส่วนที่ให้คน ก็เป็นอาหารเจ ข้าวสาร และของใช้ต่างๆ  เมื่อครั้งพุทธกาล ที่พระอานนท์กำลังบำเพ็ญสมาธิปรเวกธรรม อยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์ มีอสูรกายตนหนึ่งได้แสดงร่างเป็นเปรต แล้วกล่าวกับพระอานนท์ว่า อีกสามวันพระพุทธเจ้าจะสิ้นพระชนม์ พระอานนท์จึงถามว่าจะแก้ไขได้อย่างไร เปตรตอบว่าจะต้องทำพิธีอุทิศเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นไทยทาน พระองค์จึงจะอยู่รอด และจะมีพระชนมายุยืนนานอีกด้วย พระอานนท์จึงทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงโปรดให้ประกอบพิธีเมตตาธรรม ด้วยการโปรยทาน งานบุญทิ้งกระจาดจึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้

โดยเริ่มกลางเดือน 7 ของจีน แต่จะตรงกับเดือน 9 ของไทยทางจันทรคติ เป็นเวลา 5 วัน 5 คืน พอวันที่ 3 จะเป็นวันทิ้งกระจาดฟ้า โดยจะมีการทิ้งสิ่งของหรือไม้ติ้วที่มีหมายเลขเขียนไว้จากที่สูงลงมา ผู้ที่มาชมงานถ้าใครรับไม้ติ้วได้หมายเลขไดก็นำไปรับสิ่งของตามหมายเลขนั้น ซึ่งมีค่ามากน้อยลดลดหลั่นกันแล้วแต่โชค

ส่วน งานทิ้งกระจาดดิน จะต่างกับการทิ้งกระจาดฟ้าตรงที่ของนั้น จะทิ้งไว้บนพื้นดิน เพราะถือว่าการทิ้งกระจาดดิน เป็นการทิ้งทานให้แก่พวกภูตผีปีศาจทั้งหลาย

ในวันแรกของงานทิ้งกระจาดจะมีขบวนแห่ที่สวยงาม มีความยาวและยิ่งใหญ่กว่างานใดๆในจังหวัด มีขบวนเชิดสิงโต มังกร ขบวนธงทิว โดยสาวงามจากท้องถิ่นต่างๆในจังหวัด มีชุดฟ้อนรำลำกลองยาว ล่อโก๊ว ที่สำคัญคือมีขบวนหาบสิ่งของเพื่อไปอัญเชิญเจ้าพ่อหลักเมือง โดยนำมาเพียงกระถางธูปแทนเท่านั้น จากนั้นก็นำมายังสถานพิธีที่สมาคมจีน จะมีการออกร้าน แสดงสินค้า และมหรสพต่างๆ โดยเฉพาะงิ้ว

http://www.suphan.biz/tingkrajad.htm